รัชนก อินทนนท์ (เมย์)

แชมป์แบดมินตันที่ไม่ยอมให้อายุมาเป็นข้อจำกัดความสำเร็จ

“ ไม่มีใครที่จะประสบความสำเร็จอย่างที่หวัง
ไว้ตลอด สิ่งสำคัญคือเราได้เริ่มแล้วหรือยัง ”

ชื่อ : รัชนก อินทนนท์
ชื่อเล่น : เมย์
เกิด : 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 จังหวัดยโสธร
ประเภทกีฬา : แบดมินตัน

START HER IMPOSSIBLE

จากเด็กอายุ 6 ขวบ ที่คุณแม่ให้เล่นแบดมินตัน เพียงเพราะกลัวจะไปซุกซนรบกวนคนอื่น 12 ปีผ่านมา เด็กน้อยคนนั้นกลายเป็นแชมป์โลกแบดมินตันหญิงที่อายุน้อยที่สุดในโลก

ความสำเร็จของ เมย์-รัชนก อินทนนท์ ต้องแลกมาด้วยอะไรหลายอย่าง ซึ่งก่อนเป็นแชมป์โลกว่าหนักแล้ว การประคองฝีมือตัวเองหลังจากนั้นคืองานที่หนักยิ่งกว่า เพราะไม่เพียงต้องรักษาระดับของตัวเอง แต่เมย์ยังแบกความคาดหวังของคนทั้งประเทศ ในทุกรายการที่ลงแข่ง

ทางเลือกของเมย์ มีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือซ้อมให้หนัก

ด้วยความที่ชีวิตนักเรียนและนักกีฬาของเมย์ เริ่มต้นขึ้นพร้อมๆกัน ฉะนั้นก่อนและหลังไปโรงเรียน เมย์ต้องซ้อมแบดมินตันทุกวันนั่นหมายความว่าเมย์ไม่เคยได้เที่ยวเล่นเหมือนวัยรุ่นทั่วไป ในหนึ่งสัปดาห์จะมีวันหยุดแค่ 1 วันเท่านั้น แต่ละวันเมย์ต้องซ้อมต่อเนื่อง 6-7 ชั่วโมงตั้งแต่ซ้อมวิ่งกระโดดเชือกฝึกความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ความคล่องตัวของในการเคลื่อนไหวและการตีลูกขนไก่ในรูปแบบต่างๆ

หากจะนับการซ้อมของเมย์ออกมาให้เห็นภาพ ว่าหนักแค่ไหน ให้นึกภาพลูกขนไก่ที่เมย์ต้องใช้ซ้อมต่อเนื่อง 312 วันต่อปี วันละ 25 ลูก นั่นเท่ากับว่า หนึ่งปีเมย์ตีลูกขนไก่ไปทั้งสิ้น 7,800 ลูก โดยทำแบบนี้มาอย่างสม่ำเสมอตลอด 18 ปีของการเป็นนักกีฬา มาถึงวันนี้ เมย์จึงตีลูกขนไก่ไปมากถึง 140,000 ลูก

กว่า 200 รายการที่เมย์ลงแข่งขัน ไม่ว่าจะจบลงด้วยความปราชัยหรือชัยชนะ เมย์ก็ไม่เคยท้อ หรือลดทอนมาตรฐานในการซ้อมหนักของตัวเอง เพราะไม่ว่าจะเหงื่อทุกหยดหรือหยาดน้ำตาแห่งความกดดันจะรุมเร้าแค่ไหน มีเพียงหัวใจที่ไม่ยอมแพ้และมุ่งมั่นเท่านั้น ที่จะทำทุกอย่างให้เป็นไปได้

ด้วยความเชื่อที่ว่า “ไม่มีใครประสบความสำเร็จอย่างที่หวังไว้ตลอด สิ่งสำคัญคือเราได้เริ่มแล้วหรือยัง” ทำให้ทุกครั้งที่ท้อเมย์จะลุกขึ้นมาทำสิ่งที่ฝันให้เป็นจริงขึ้นมาใหม่ทุกครั้ง ดังนั้นลูกขนไก่กว่า 140,000 ลูกและเหงื่อทุกหยดของเมย์จากการซ้อมหนักคือเครื่องยืนยันกับตัวเองและคนอื่นๆ ได้ว่าเราสามารถทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ ขอเพียงอย่าหยุดพยายาม

ปัจจุบัน เมย์คือเจ้าของสถิตินักแบดมินตันคนแรกของโลก ที่สามารถคว้าแชมป์ซูเปอร์ซีรีส์ 3 รายการติดต่อกันภายใน 3 สัปดาห์ ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้มาก่อนเป็นคนไทยคนแรกที่ก้าวถึงตำแหน่งมือ 1 ของโลก ( อันดับเมื่อปี พ.ศ. 2559 ) และยังเป็นแชมป์โลกหญิงที่อายุน้อยที่สุดในโลกอีกด้วย

แต่ทั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่เมย์ยังทำไม่สำเร็จคือ การคว้าชัยในโอลิมปิกเกมส์ ความผิดหวัง 2 ครั้งที่ผ่านมา ไม่ได้ทำให้เมย์หมดกำลังใจ ปีนี้เมย์ยังคงเดินหน้าลงแข่งขันในทุกรายการสำคัญเพื่อเก็บคะแนนทำอันดับไปแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเมย์ตั้งเป้าหมายว่าต้องคว้าเหรียญใดเหรียญหนึ่งกลับมาฝากคนไทยให้ได้ โตโยต้าจึงขอชวนคนไทยร่วมส่งแรงใจให้เมย์ รัชนกสามารถสร้างตำนานบทใหม่ให้วงการกีฬาไทย ในการคว้าเหรียญโอลิมปิกแรกในกีฬาแบดมินตันให้กับคนไทยให้ได้

ผลงาน

พ.ศ. 2552
รางวัลเหรียญทอง แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก อลอร์สตาร์ 2009 ประเภทหญิงเดี่ยว
รางวัลชนะเลิศเวียดนาม อินเตอร์เนชั่นแนล แชลเลนจ์
พ.ศ. 2553
รางวัลเหรียญทอง แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลกกวาดาลาฮารา 2010 ประเภทหญิงเดี่ยว
รางวัลเหรียญเงิน เอเชียนเกมส์ กว่างโจว 2010 ประเภททีมหญิง
รางวัลชนะเลิศ สมายลิ่ง ฟิช อินเตอร์เนชั่นแนล ซีรีส์
รางวัลชนะเลิศ โยเน็กซ์-ซันไรส์ เวียดนาม โอเพ่น กรังด์ปรีซ์
รางวัลชนะเลิศ อินโดนีเซีย โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์
พ.ศ. 2554
รางวัลเหรียญทอง แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก ไทเป 2011 ประเภทหญิงเดี่ยว
รางวัลเหรียญทอง ซีเกมส์ อินโดนีเซีย 2011 ประเภททีมหญิง
รางวัลเหรียญทองแดง ซีเกมส์ อินโดนีเซีย 2011
รางวัลชนะเลิศ โยเน็กซ์-ซันไรส์ อินเดีย โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์
พ.ศ. 2556
รางวัลเหรียญทอง แบดมินตันชิงแชมป์โลก กว่างโจว 2013 ปรเภทหญิงเดี่ยว
รางวัลชนะเลิศ โยเน็กซ์-ซันไรส์ อินเดีย โอเพ่น ซูเปอร์ ซีรีส์
รางวัลชนะเลิศ เอสซีจี ไทยแลนด์ โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์
พ.ศ. 2558
รางวัลเหรียญทอง ชิงแชมป์เอเชีย อู่ฮั่น 2015 ประเภทหญิงเดี่ยว
รางวัลเหรียญทอง ซีเกมส์ สิงค์โปร์ 2015 ประเภททีมหญิง
รางวัลชนะเลิศ แบดมินตันชิงแชมป์โลก
รางวัลชนะเลิศ แบดมินตัน บีซีเอ อินโดนีเซีย ซุปเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์
พ.ศ. 2559
รางวัลชนะเลิศ ปริ๊นเซส ศิริวัณณวรี ไทยแลนด์มาสเตอร์
รางวัลชนะเลิศ โยเน็กซ์-ซันไรส์ อินเดีย โอเพ่น ซูเปอร์ ซีรีส์
รางวัลชนะเลิศ มาเลเซีย โอเพ่น ซุปเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์
รางวัลชนะเลิศ โอยูอี สิงคโปร์ โอเพ่น ซุปเปอร์ ซีรีส์
พ.ศ. 2560
รางวัลชนะเลิศ ไทยแลนด์ โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์
รางวัลชนะเลิศ นิวซีแลนด์ โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์
รางวัลชนะเลิศ เดนมาร์ก ซุปเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์
พ.ศ. 2561
รางวัลเหรียญทองแดง เอเชียนเกมส์ จาการ์ตา-ปาเล็มบัง 2018 ประเภททีมหญิง
พ.ศ. 2562
รางวัลเหรียญทองแดง แบดมินตันชิงแชมป์โลก 2019 กรุงบาเซิ่ล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเภทหญิงเดี่ยว

OUR ATHLETES

อาจไม่เคยมีใครรู้ว่าเบื้องหลังชีวิตของนักกีฬาทีมชาติไทยกว่า 95% คือการมุ่งมั่นทุ่มเทฝึกซ้อมอย่างหนัก เพียงเพื่อชัยชนะใน 5% ของการแข่งขัน...ที่นำมาซึ่งความสุขของคนไทยทั้งประเทศ